top of page

Constant Proportion Portfolio Insurance (CPPI)

"การประสบความความสำเร็จในการลงทุนไม่ใช่การค้นหาผลตอบแทนที่มากที่สุดแต่คือการจัดการความเสี่ยงต่างหาก"

การบริหารพอร์ตการลงทุนไม่ได้มีแต่การจัดสรรค์สินทรัพย์ในสัดส่วนที่เหมาะสมเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการบริหารจัดการสัดส่วนเมื่อสถานการณ์การลงทุนเปลี่ยนแปลงไป หนึ่งในวิธีเหล่านั้นคือ Portfolio Insurance ซึ่งวันนี้เราจะพูดถึงวิธีที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ Constant Proportion Portfolio Insurance (CPPI) เป็นกลยุทธ์การจัดสรรสินทรัพย์หรือการป้องกันความเสี่ยงที่ให้นักลงทุนมีความสามารถในการตัดสินใจกำหนดความเสี่ยงที่ยินดีจะยอมรับโดยการแลกเปลี่ยนระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวัง ในกลยุทธ์นี้วัตถุประสงค์คือจำกัดความเสี่ยงขาดทุนในขณะที่รักษาความเป็นไปได้ในการรับประโยชน์บางส่วนจากศักยภาพด้านบวกของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง



Constant Proportion Portfolio Insurance คืออะไร

CPPI strategy ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในปี 1987 โดย Fischer Black และ Robert W Jones โดยสามารถสร้าง payoffs ของการลงทุนคล้ายกับ option จากสินทรัพย์สองชนิดในพอร์ตการลงทุนคือสินทรัพย์เสี่ยงและสินทรัพย์ปราศจากความเสี่ยง


แบบจำลองพื้นฐานของ CPPI คือพอร์ตการลงทุนที่ปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนระหว่างสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยงและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่างไดนามิกตามกฎการซื้อขายแบบไม่ต่อเนื่อง ในแต่ละช่วงเวลา นักลงทุนจะคำนวณจำนวนเงินที่จำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยงเพื่อรับประกันเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดของเงินลงทุนเริ่มแรก - ซึ่งเรียกว่าต้นทุนของการรับประกันหรือ "'Floor" - รวมถึงมูลค่าของพอร์ตการลงทุนที่เกินกว่า Floor นั้น (เรียกว่า "cushion" หรือ "reserve")


จากนั้นจะใช้ "ตัวคูณ" ที่เป็นค่าคงที่คูณกับ cushion ตัวคูณนี้มักถูกเลือกให้สะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่คาดหวังของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงรวมถึงทัศนคติของนักลงทุน ตัวคูณกำหนดศักยภาพในการก่อให้เกิดเลเวอเรจของการลงทุน ตัวคูณที่มีค่าเท่ากับหนึ่ง หมายถึง ไม่มีเลเวอเรจ ขณะที่ตัวคูณที่มีค่าเท่ากับศูนย์ เทียบเท่ากับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยงโดยสิ้นเชิง


การบริหารเงินลงทุนด้วยเทคนิค CPPI จะให้น้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงและสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำซึ่งปรับเปลี่ยนไปในแต่ละวัน เพื่อตอบสนองกับภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป (Dynamic Asset Allocation)โดย สัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจะถูกปรับเพิ่มขึ้นในภาวะตลาดช่วงขาขึ้น (Bullish Market) และถูกปรับลดลงในภาวะตลาดช่วงขาลง (Bearish Market)


องค์ประกอบของ CPPI


  • Bond floor

Bond floor คือมูลค่าขั้นตํ่าของ CPPI พอร์ตฟอร์ลิโอที่เราจะให้ลดลงไปตํ่าสุด เพื่อให้สามารถชำระกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งหมดได้

  • Multiplier

ใช้เพื่อกำหนดจำนวนความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยินดีที่จะดำเนินการ โดยที่เมื่อตัวคูณสูงขึ้นพอร์ตจะปรับเร็วขึ้น

  • Gap

การวัดสัดส่วนของส่วนทุนเมื่อเทียบกับเบาะหรือ (CPPI-bond floor) / equity ในทางทฤษฎีสิ่งนี้ควรเท่ากับ 1 / ตัวคูณและนักลงทุนใช้การปรับสมดุลพอร์ตของพอร์ตเป็นระยะเพื่อพยายามรักษาสิ่งนี้ไว้



ตัวอย่าง


สมมติว่าต้องการระดับการรักษามูลค่าที่ 80% หากเงินลงทุนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ระดับการรักษามูลค่าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของเงินลงทุนสูงสุดเท่าที่เคยมีมาในช่วงตลอดระยะเวลาการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น หากเงินลงทุนเริ่มแรกเท่ากับ 100 บาท ผู้ลงทุนจะได้ระดับการรักษามูลค่าเงินลงทุนที่ 80% หรือ 80 บาท หากต่อมาเงินลงทุนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 110 บาท ระดับการรักษามูลค่าเงินลงทุนจะขยับขึ้นเท่ากับ 88 บาท ซึ่งคิดเป็น 80% ของมูลค่าเงินลงทุนใหม่ หลังจากนั้นหากเงินลงทุนปรับตัวลดลงเท่ากับ 90 บาท ระดับการรักษามูลค่าเงินลงทุนจะเท่ากับระดับการรักษามูลค่าเงินลงทุนสูงสุดที่ผ่านมาหรือเท่ากับ 88 บาท ทั้งนี้ระดับการรักษามูลค่าเงินลงทุนมีโอกาสเพิ่มขึ้นมากกว่า100% ของเงินลงทุนเริ่มแรกได้ หากเงินลงทุนสูงสุดตลอดระยะเวลาการลงทุน มีมูลค่ามากกว่า125 บาท (80% ของ 125 บาท = 100 บาท)


การออกแบบกลยุทธ์การลงทุน

แม้กลยุทธ์ CPPI จะดูเหมือนเรียบง่ายใครๆ ก็ทำได้ แต่มีตัวแปรบางตัวที่ยังเป็นคำถาม ว่าเราควรใช้เท่าไหร่ดี ควร Rebalance บ่อยแค่ไหน(บ่อยมามีค่าธรรมเนียมน้อยไปมีโอการที่พอร์ตจะลงไปตำ่กว่า flow ) หรือพอร์ตดารลงทุนใหม่ที่เราได้ จะมีผลตอบแทนที่คาดหวังเท่าใด


ในทางปฏิบัติก่อนที่จะนำกลยุทธ์ CPPI ไปใช้เราจะทำการทดสอบก่อน เพื่อดูผลในกรณีต่างๆ ถ้าใครสนใจลองเข้าไปกด https://cppinuth.streamlit.app/

แต่ถ้าใครอยากเข้าใจว่าจำลองยังไง เราจะมาเริ่มกันเลย



ในที่นี้เพื่อให้อธิบายง่ายเราจะตั้งสมมุติฐานว่าการแจกแจงของผลตอบแทนของสินทรัพย์ (Return) นั้นเป็นรูปแบบ Normal Distribution และการกระจายตัวของราคาสินทรัพย์เป็น Log-normal ที่มีค่า Mu และ Sigma คงที่ (Constant) โดยการเคลื่อนที่ของราคาของสินทรัพย์ตาม GBM เป็นไปตามสมการดังต่อไปนี้



เมื่อเราได้สมการนี้มาเราสามารถจำลองเหตุการณ์ที่เรียกว่า Monte Carlo Simulation


geometric brownian motion
geometric brownian motion


สิ่งที่เราจะสนใจเมื่อจำลองราคามาแล้วคือค่าคาดหวังหรือค่ากลางเป็นผลตอบแทนของสินทรัพย์เมื่อใช้กลยุทธ์ CPPI ตามที่เราออกแบบมา นอกจากนีัเรายังดูความน่าจะเป็นของโอกาสที่ผลตอบแทนจะตำ่กว่าค่าที่เรากำหนด Flow ได้ด้วย



Extensions to CPP

  • Time Invariant Portfolio Protection 

  • CPPI with performance cap 

  • CPPI with stochastic control 

  • Volatility-Controlled CPPI

  • Dynamic Floor CPPI (DF-CPPI)

  • Path-Dependent CPPI

  • Multi-asset CPPI


Ref:

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Portfolio Insurance

Comments


bottom of page